ในปัจจุบันทั่วโลกมีการบริโภคสุราอย่างกว้างขวาง เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวประมาณการว่ามีผู้ใหญ่ที่บริโภคสุราสูงถึงร้อยละ 50 และมีประชากรประมาณ 15 ถึง 20 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง . นอกจากนี้ร้อยละ ของผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสุรา พบว่าแอลกอฮอล์สามารถซึมผ่านเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ได้เป็นอย่างดีและส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะการทำงานของตับ. แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคที่รุนแรงกว่าโรคมะเร็งบางชนิดเสียอีก.1 ในด้านผลของการดื่มแอลกอฮอล์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด มีข้อมูลว่าสามารถช่วยลดอัตราการตายได้ โดยเฉพาะการดื่มไวน์ แต่ถ้าดื่มในปริมาณที่มากกว่า 50 กรัม/วัน (5-6 แก้วต่อวัน) จะมีผลในทางตรงกันข้าม.2 ในด้านบทบาทของแอลกอฮอล์ต่อการทำงานและการดำเนินโรคทางไต อาจจะไม่ได้เด่นชัดเท่ากับผลกระทบต่อการทำงานของตับหรือในอวัยวะอื่นๆ โดย Bright เป็นผู้ที่ตั้งข้อสังเกตนี้ตั้งแต่เมื่อ a hundred and seventy ปีที่แล้ว3 หลังจากนั้นข้อมูลการศึกษาบทบาทของแอลกอฮอล์ต่อการทำงานและการดำเนินโรคทางไตเริ่มมีเพิ่มมากขึ้นทั้งในมนุษย์และในสัตว์ทดลอง ดังจะได้กล่าวในบทความนี้. สำหรับวิธีการการป้องกันภาวะไตวาย ควรควบคุมอาหาร ลดอาหารเค็ม เพื่อช่วยไม่ให้ไตทำงานหนัก ทั้งยังเป็นการควบคุมความดัน, ลดอาหารที่มีไขมันสูง, งดสูบบุหรี่, ดื่มน้ำ เปล่าที่มีอุณหภูมิปกติ เพื่อเป็นการบำรุงไต, หากเป็นเบาหวาน ต้องคุมน้ำตาล, หากเป็นโรคความดันสูง ต้องคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ การตรวจเลือดดูการทำงานของไตนั้น นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคนี้ แต่ถ้าหากใครพบอาการผิดปกติ […]